จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การตั้งครรภ์เมื่ออายุมาก


สมัย ก่อนเราจะพบคุณย่าและคุณยายยังสาวอยู่เป็นจำนวนมากแต่ปัจจุบันคนไทยแต่งาน อายุมากขึ้นและยังคุมกำเนิดต่ออีกทำให้เกิดการตั้งท้องตอนอายุมาก เด็กที่เกิดจากสตรีที่มีอายุมากส่วนใหญ่จะปกติแต่ก็พบว่ามีความเสี่ยงเพิ่ม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องวางแผนการมีบุตร

เมื่ออายุ 35 ปีขึ้นไปอัตราการตั้งครรภ์จะลดลงเนื่องจากมีการตกไข่ลดลง คุณภาพของไข่ลดลง อาจจะมีการอักเสบในช่องท้องทำให้เกิดพังผืดมากขึ้น แม้ว่าจะตั้งครรภ์ยากแต่ครรภ์แฝดมักจะเกิดในช่วงอายุ 35-39 ปี หากท่านอายุมากกว่า 30 ปี มีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอแล้วยังไม่มีบุตร  ให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ขณะตั้งครรภ์เมื่ออายุมากมีผลต่อสุขภาพอย่างไร
การ ตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์สำหรับคนที่มีอายุมากกว่า 30 ปีมีความจำเป็นเนื่องจากอายุมากขึ้นก็จะมีโรค ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ เบาหวานขณะตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น การควบคุมโรคก่อนการตั้งครรภ์จะช่วยลดโรคแทรกซ้อนได้ พบว่าคนท้องที่อายุมากกว่า 35 ปีจะเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์สูงกว่าคนทั่วไป 2 เท่าเมื่อเทียบกับอายุ 20 ปี

อายุมากขณะตั้งครรภ์กับการพิการแต่กำเนิด
พบว่าโรค Down syndrome จะเพิ่มขึ้น สำหรับผู้ตั้งครรภ์อายุ 25 ปีคลอดผิดปกติ 1 รายจากจำนวนคลอดปกติ 1250 ราย แต่ถ้าอายุ 35 ปีจะพบคลอดผิดปกติ 1 รายจากจำนวนคลอด 106 ราย แนะนำว่าหญิงท้องที่อายุมากกว่า 35 ปีควรจะเจาะน้ำคร่ำตรวจ

อายุมากขณะตั้งครรภ์กับการแท้ง
อัตราการแท้งเพิ่ม ขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น พบว่าอายุ 25 ปีอัตราเสี่ยงต่อการแท้งประมาณร้อยละ 12-15 แต่ถ้าหากอายุ 40 ปีอัตราเสี่ยงของการแท้งประมาณร้อยละ 25 -30

อายุมากขณะตั้งครรภ์มีผลต่อเด็กหรือไม่
● อายุขณะตั้งครรภ์มากจะทำให้เกิดปัญหาเรื่องรกผิดปกติมากขึ้นคือ รกเกาะต่ำ รกลอกก่อนคลอด
● เด็กที่คลอดอาจจะมีน้ำหนักน้อยกว่าคนท้องที่อายุน้อย
● เนื่องจากแม่อาจจะไม่แข็งแรง เด็กอาจจะเกิดความเครียดขณะคลอด ทำให้ไม่แข็งแรง

อายุมากขณะตั้งครรภ์มีผลต่อการคลอดหรือไม่
เมื่อ อายุมากขึ้นจะพบว่าคลอดลำบากทำให้ต้องผ่าตัดหน้าท้องมากขึ้นพบว่าหากท้องแรก อายุ 30 ปีจะมีอัตราการคลอดโดยวิธีผ่าตัดเพิ่มร้อยละ30 แต่ถ้าหากอายุมากกว่า35 ปี จะมีอัตราการคลอดโดยวิธีผ่าตัดเพิ่มร้อยละ 80

ท่านจะลดอัตราเสี่ยงได้อย่างไร● รับประทานวิตามิน โฟลิก 400 มิลิกรัมต่อวัน ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์
● ให้ตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์และฝากท้องตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
● ให้คุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
● เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
● งดดื่มสุรา
● งดบุหรี่
● เลิกซื้อยารับประทานเอง

เมื่อตั้งท้องต้องตรวจพิเศษอะไรบ้าง
ที่สำคัญคือต้องเจาะน้ำคร่ำตรวจ Chromosome เพื่อตรวจว่าเด็กเป็นโรค Down syndrome หรือไม่

ขอบคุณข้อมูลจาก
นพ.ธีรศักดิ์  ธำรงธีระกุล และทีมแพทย์ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก และผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น