จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ ( เดือนที่ 4 – 6 )

ไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ ( เดือนที่ 4 – 6 )



การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

คุณ แม่ส่วนใหญ่พบว่าไตรมาสสองของการตั้งครรภ์การเปลี่ยนแปลงสามารถพบได้ ง่ายกว่าไตรมาสแรก แต่ยังคงมีความสำคัญที่กล่าวถึงในช่วงระยะนี้

จะ พบว่าอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงแรกเช่นคลื่นไส้ และ อ่อนเพลียได้หมดไป แต่การเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นทางด้านร่างกายกำลังจะเกิดขึ้น เช่น หน้าท้องจะเริ่มเห็นได้ชัด น้ำหนักเพิ่มขึ้น และ ทารกในครรภ์เจริญเติบโตขึ้น และ ก่อนไตรมาสที่สาม คุณแม่จะสามารถรู้สึกได้ถึงทารกในครรภ์มีการเคลื่อนไหว และจะพบว่าระยะนี้จะมีอาการปวดเมื่อยเกิดขึ้นได้

อาการปวดเมื่อยต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้มีดังนี้

• รู้สึกเจ็บในท้อง ก้นกบและ ต้นขา
• ปวดหลัง
• หายใจสั้น
• ผิวหนังหน้าท้องลาย
• ผิวหนังมีการเปลี่ยนแปลง แห้ง และ คล้ำลง
• มือและนิ้วมีขนาดใหญ่ขึ้น
• อาการตะคริวที่น่อง
• หากคุณแม่มีอาการคันที่ท้อง ฝ่ามือ และ หลังเท้า ให้ปรึกษาแพทย์ถ้าหากมีอาการร่วมกับคลื่นไส้ เบื่ออาหาร อาเจียน ตัวเหลือง หรือ อ่อนเพลีย เนื่องจากอาการเหล่านี้อาจจะเกิดจากปัญหาเกี่ยวกับตับที่เรียกว่า ดีซ่าน


น้ำหนักเพิ่ม

การเพิ่มน้ำหนักมี ความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล โดยปกติน้ำหนักจะเพิ่มขึ้นอาทิตย์ละ 1 /2 ก.ก. หรือ ประมาณ 2 ก.ก. ต่อเดือนในช่วงไตรมาสนี้

การเปลี่ยน แปลงของทารก เมื่อสิ้นสุดไตรมาสที่สอง ทารกในครรภ์จะหนักประมาณ 1 ก.ก.และยาวประมาณ 30 ฃ.ม. จะมีการพัฒนาของนิ้วมือ นิ้วเท้า ขนตา คิ้ว ประมาณเดือนที่ 5 คุณแม่สามารถรับรู้ได้ถึงการดิ้นของทารก และเมื่อสิ้นสุดไตรมาสที่สอง จะพบว่า อวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ ปอด และไต ได้มีการพัฒนาอย่างเต็มที่


การตรวจต่างๆ ในช่วงไตรมาสที่สอง

ช่วง ไตรมาสที่สองคุณแม่ควรจะพบสูตินรีแพทย์อย่างต่อเนื่อง ในช่วงนี้อาจมีการทำอัลตราซาวนด์เพื่อดูการพัฒนาและสุขภาพของทารกในครรภ์ และอาจจะสามารถดูเพศของทารกได้ด้วย รวมถึงการตรวจอย่างอื่นเพื่อดูความผิดปกติทางพันธุกรรม ความผิดปกติทางพันธุกรรมอาจถ่ายทอดมาแม่และพ่อ หรือบางครั้งอาจเกิดขึ้นได้โดยที่ไม่มีประวัติความผิดปกติทางพันธุกรรมใน ครอบครัวเลยก็เป็นได้ ยิ่งเมื่อคุณแม่อายุเกิน 35 ปียิ่งมีโอกาสที่จะเกิดความผิดปกติทางพันธุกรรมในทารกได้

การตรวจหาความผิดปกติทางพันธุกรรม สามารถตรวจได้จาก

การตรวจน้ำคร่ำ
( amniocentesis )

สามารถ กระทำได้เมื่อตั้งครรภ์แล้วอย่างน้อย 16 สัปดาห์ วิธีการตรวจแพทย์จะใช้เข็มเจาะผ่านทางหน้าท้องเข้าผ่านไปที่มดลูก และเข้าสู่รก เพื่อนำน้ำคร่ำออกมาตรวจ เซลล์จากน้ำคร่ำจะถูกตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาความผิดปกติของโครโมโซม ซึ่งน้ำคร่ำสามารถนำมาตรวจ AFP ได้ด้วย ความคลาดเคลื่อนของผลการตรวจจะมีประมาณ 1 ใน 200

Chorionic Villus Sampling (CVS)

สามารถ กระทำได้ระหว่าง 10-12 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ แพทย์จะใช้เข็มเจาะผ่านหน้าท้องเข้าไปที่รก และ จะทำตัวอย่างเนื้อเยื่อจากรกมาตรวจ แต่การตรวจชนิดนี้ไม่สามารถตรวจหาความผิดปกติเกี่ยวกับ open neural tube ได้ ซึ่งความคลาดเคลื่อนของผลการตรวจจะมีประมาณ 1 ใน 200 Maternal Serum Screening Test การตรวจเลือดสามารถทำได้หลายอย่างมีชื่อเรียกการตรวจแตกต่างกันไป เช่น triple test, quad screen ซึ่งจะนิยมทำเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 15 – 20 สัปดาห์ เป็นการตรวจหาความผิดปกติเช่น Down syndrome, trisomy 18, หรือ open neural tube defects

การตรวจเลือด
จะ ตรวจทั้ง alpha-fetoprotein (AFP) , estriol and human chorionic gonadotropin (hCG) บางครั้งแพทย์อาจจะทำการตรวจ inhibin-A ร่วมด้วย ผลของ AFP ที่สูงอาจจะนำไปสู่ความผิดปกติของ open neural tube ได้

ในหญิง ตั้งครรภ์ที่อายุ 35 ปีหรือมากกว่า พบว่า 80% ของทารกจะเป็น Down syndrome, trisomy 18, หรือ open neural tube defect ในกลุ่มอายุนี้ อาจมีผลที่เป็นบวกหลอกได้ นั่นคือผลตรวจผิดปกติ แต่จริงๆ แล้วทารกไม่ได้ผิดปกติได้ ประมาณ 22% สำหรับในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี พบความผิดปกติได้ 65% ของทารกจะเป็น Down syndrome, trisomy 18, หรือ open neural tube defect และมีค่าผลบวกหลอกประมาณ 5%

Targeted Ultrasound
ช่วง เวลาที่ดีที่สุดของการทำอัลตราซาวนด์ จะอยู่ระหว่าง 18-20 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ ซึ่งปัญหาต่างๆ ของทารกจะสามารถเห็นได้ แต่ความผิดปกติทางร่างกายอื่นๆ เช่น นิ้วปุ้ม หรือ หัวใจผิดปกตินั้นไม่สามารถตรวจพบได้

การทำอัลตราซาวนด์จะทำให้มอง เห็นความผิดปกติของสันหลัง เช่น spina bifida (กระดูกสันลังมีรอยโหว่ ) และรวมถึงการมองเห็นเพศของทารกได้ด้วย แต่การทำอัลตราซาวนด์นั้นไม่สามารถที่จะวินิจฉัยโรค Down syndrome ได้ มีเพียงแค่ 1 ใน 3 ของทารกเท่านั้นที่สามารถบ่งบอกได้ด้วยอัลตราซาวนด์                                                                                                                                                                                                                   ขอบคุณข้อมูลจก         นพ.ธีรศักดิ์ ธำรงธีระกุล และทีมแพทย์ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก และผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น