จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เบาหวานในสตรีมีครรภ์ และสุขภาพของทารกในครรภ์และแรกเกิด





สตรี ตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน  ทำให้ทารกในครรภ์มีความผิดปกติแต่กำเนิดมากขึ้นกว่าปกติ และทำให้ทารกในครรภ์เกิดภาวะขาดออกซิเจนตอนอยู่ในครรภ์ ทำให้เสียชีวิตและมีโอกาสทำให้ทารกแรกเกิดมีความผิดปกติด้านเมตาโบลิก และอื่นๆ ด้วยดังนี้

-  การขาดออกซิเจนของทารกในครรภ์ที่มารดาเป็นเบาหวาน
เกิด จากการลำเลียงออกซิเจนจากมารดาไปทารกบกพร่อง จากเลือดแม่ผ่านรกน้อยลง ตัวรกเองก็ผิดปกติด้วย ทำให้นำออกซิเจนได้น้อยลงไปอีกที่จะไปถึงลูก ถ้าแม่มีความดันโลหิตสูงร่วมกับเบาหวาน ยิ่งทำให้เลือดมารดาส่งออกซิเจนไปรกน้อยลงอีก จากการหดตัวของเส้นเลือดมารดา และการแข็งตัวของหลอดเลือดฝอยในรก

ผลคือ ทำให้ทารกขาดออกซิเจน ทำให้ทารกเติบโตช้า อาจถึงเสียชีวิตในครรภ์ ถ้าเป็นรุนแรงอาจเสียชีวิตก่อน 36 สัปดาห์ ถ้าเป็นไม่รุนแรงมาก อาจเสียชีวิตหลัง 36 สัปดาห์  ถ้ารอดจนสามารถคลอดออกมาได้ ก็จะทำให้มีอาการตัวเหลืองมากกว่าธรรมดาด้วย

-  ความผิดปกติด้านเมตตาโบลิก ในทารกแรกเกิด
ภาวะ น้ำตาลในเลือดต่ำ  :  เกิดจากน้ำตาลในเลือดแม่สูง  ถูกส่งไปยังทารก  ทำให้ตับอ่อนทารกสร้างอินซูลินในร่างกายออกมามาก  ภายหลังคลอดตัดสายสะดือ  น้ำตาลในเลือดแม่ถูกตัดขาดด้วย  ทำให้อินซูลินที่มีอยู่ทำให้น้ำตาลในเลือดลูกต่ำเกิน ถ้าไม่ได้รับการแก้ไข ทำให้หยุดหายใจ หรือ ชักได้  แพทย์อาจต้องให้น้ำตาลกับลูกทางสายน้ำเกลือ

-  ภาวะแคลเซี่ยมต่ำในเลือดทารก
เชื่อว่าเกิดจากการขาดออกซิเจนเรื้อรังจากในครรภ์  และ/หรือ การคลอดก่อนกำหนดร่วมด้วย  ทำให้เกิดอาการชักได้ 

-  ความหนาแน่นของกระดูกต่ำ

จากบทความนี้  จึงเป็นเครื่องเตือนใจสตรีที่ตั้งครรภ์แล้วเป็นเบาหวานร่วมด้วย  จะต้องดูแลตัวเองในการควบคุมเบาหวานให้ดี  เพื่อการเจริญเติบโตและสุขภาพที่ดีของทารกในครรภ์และช่วงแรกเกิดด้วย

(บท ความนี้  คัดย่อและเรียบเรียงมาจาก  บทความวิชาการโดย นพ.ทัญญู  พันธุ์บูรณะ  คณะอนุกรรมการอนามัยแม่และเด็กราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย  ในสูตินรีแพทย์สัมพันธ์  ปีที่ 18  ฉบับที่ 10  เดือนตุลาคม  2552)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น