จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ( เดือนที่ 1 – 3 )



การ เปลี่ยนแปลงของร่างกาย ระยะ 3เดือนแรกของการตั้งครรภ์หรือไตรมาสแรก ร่างกายคุณแม่จะเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เนื่องจากมีการปรับตัวเพื่อให้ทารกเจริญเติบโต คุณแม่อาจมีอาการคลื่นไส้ อ่อนเพลีย ปวดหลัง อารมณ์เปลี่ยนแปลง และ เครียด ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นนั้นเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้ อาการเหล่านี้จะหายไปเมื่ออายุครรภ์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่สำหรับบางคนแล้วอาจจะไม่มีอาการใดๆ เกิดขึ้นเลยก็ได้ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล

เมื่อร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงแล้ว อาการบางอย่างอาจเกิดขึ้นทำให้คุณแม่จำต้องเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวันที่ เคยทำไป อาการเหล่านี้ ได้แก่

เหนื่อยง่าย

หลายๆคนมักเกิดอาการเหนื่อยง่ายใน ช่วงไตรมาสแรก แต่ไม่ต้องกังวลใจ เพราะนี่เป็นอาการปกติ เนื่องจากร่างกายจะบอกคุณแม่ว่าถึงเวลาที่จะพักได้แล้วหลังจากร่างกายได้ทำ งานอย่างหนักเพื่อพัฒนาชีวิตน้อยๆ ในครรภ์ เมื่อคุณแม่มีอาการเหนื่อยอ่อนควรจะ

1.นอนหลับพักผ่อนให้ได้อย่างน้อย 8 ชั่วโมงในช่วงกลางคืนและพักช่วงสั้นๆ ในเวลากลางวันหากเป็นไปได้

2.พักทุกครั้งเมื่อมีอาการเหนื่อย

3.พยายาม นอนตะแคงซ้าย ซึ่งจะช่วยลดความดันจากเส้นเลือดที่ส่งออกซิเจนและสารอาหารไปสู่ทารกในครรภ์ ถ้ายิ่งมีอาการความดันสูงในช่วงตั้งครรภ์แล้ว การนอนตะแคงซ้ายจะช่วยได้ดีที่สุด

4.ถ้ามีอาการเครียด พยายามหาวิธีในการผ่อนคลายจิตใจ วิธีใดก็ได้ที่คุณคิดได้ คลื่นไส้และอาเจียน ปกติแล้วอาการคลื่นไส้และอาเจียนมักจะเกิดขึ้นในตอนเช้า ซึ่งเรียกกันว่า Morning Sickness แต่บางรายอาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งวัน ซึ่งอาการเหล่านี้จะหายไปหลังจากไตรมาสแรก


ลองดูวิธีต่างๆ ที่จะช่วยลดและป้องกัน การคลื่นไส้และอาเจียน

1.รับ ประทานทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง ประมาณ 6-8 มื้อต่อวันแทนที่จะเป็น 3 มื้อใหญ่และพยายามหลีกเลี่ยงอาหารทอด อาหารมัน และ อาหารรสเผ็ดจัด

2.พยายาม รับประทานอาหารจำพวกแป้ง เช่น ขนมปัง ขนมปังกรอบ หรือ ซีเรียลแห้งๆ เมื่อคุณรู้สึกว่าคลื่นไส้ อาจจะนำอาหารที่กล่าวมาไว้ข้างๆเตียงเพื่อจะได้รับประทานเมื่อตื่นนอนตอน เช้า หรือจะได้หยิบสะดวกเมื่อมีอาการคลื่นไส้ช่วงกลางดึก

3.ลองดื่มน้ำจำพวกน้ำขิง ระหว่างมื้อ และเครื่องดื่มอุ่น ๆ เล็กน้อยก่อนนอน หรือตอนดึก

4.ปรึกษา แพทย์ถ้าคิดว่าวิตามินที่รับประทานนั้นจะทำให้อาการคลื่นไส้แย่ลง บางครั้งอาจจะเปลี่ยนเวลารับประทานวิตามิน เช่น ทานก่อนนอนแทนที่จะเป็นในช่วงเช้า

5.ถ้าไม่ดีขึ้นอาจปรึกษาแพทย์เพื่อขอวิตามิน B6 เพิ่มเติมเมื่ออาการคลื่นไส้และอาเจียนรุนแรง

6.ถ้า คุณแม่มีอาการอาเจียนมากขึ้น ควรจะพบแพทย์เนื่องจากร่างกายอาจจะสูญเสียน้ำอย่างมากจนอาจเกิดอาการขาดน้ำ (Dehydration) ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายต่อคุณแม่และทารกในครรภ์

7.บาง รายอาการรุนแรงอาจจะส่งผลให้เกิดการชาดสารอาหารและชาดน้ำเมื่ออาการนี้เกิด ขึ้นจะเรียกว่า Hyperemesis Gravidarum (HG) ซึ่งอาการนี้จะเกิดเมื่อคุณแม่อาเจียนมากๆ หลายๆ ครั้งต่อวันในช่วง 3-4 เดือนแรกของการตั้งครรภ์

คุณแม่ที่มีอาการ HG ควรที่จะพยายามดื่มน้ำมากๆ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อเป็นการป้องกันการสูญเสียอิเลคโตรไลด์ในร่างกาย ซึ่งหลายๆ คนอาจจะน้ำหนักลดอาจมากกว่า 5% ของน้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ หากอาการรุนแรงมาก อาจจำเป็นต้องได้รับการดูแลในโรงพยาบาลเพื่อให้สารน้ำและอาหาร ทางหลอดเลือดดำ

อาการ HG นั้นจะเริ่มดีขึ้นเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 20 สัปดาห์ แต่บางรายอาการนี้อาจจะรุนแรงและนานถึง ช่วงไตรมาสสามก็สามารถเป็นได้ หากสนใจเรื่อง Hyperemesis Gravidarum (HG) สามารถเข้าไปศึกษาได้จาก Website ของ Hyperemesis Education and Research (HER) Foundation

ปัสสาวะบ่อย

คุณแม่วิ่งเข้าห้องน้ำแทบจะตลอด เวลาหรือไม่ เพราะในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ มดลูกจะมีการขยายขนาดใหญ่ขึ้นซึ่งจะไปกดที่กระเพาะปัสสาวะทำให้เกิดอาการ ปัสสาวะบ่อย หากปัสสาวะบ่อยร่วมกับมีอาการปวด แสบ และมีหนองหรือเลือดปนมากับปัสสาวะ ให้รีบพบแพทย์เนื่องจากอาจมีการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะและจำเป็นต้อง ได้รับการรักษา

น้ำหนักเพิ่ม

ช่วงแรกของการตั้งครรภ์ การเพิ่มของน้ำหนักตัวยังมีไม่มากนัก ประมาณ ½ ก.ก.ต่อเดือน การเปลี่ยนแปลงของทารกในครรภ์ เมื่อสิ้นสุดไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ทารกจะมีขนาดยาวประมาณ 7.5 ช.ม. หนักประมาณ 15 กรัม ตาทั้งสองข้างยังอยู่ใกล้กัน หูอยู่ในตำแหน่งปกติ ตับสามารถผลิตน้ำดี และไตสามารถขับปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ ถึงแม้ว่าคุณแม่จะยังไม่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารก แต่จริงๆ แล้วทารกนั้นเคลื่อนไหวตอบสนองเมื่อมีการกดที่หน้าท้อง

การพบแพทย์


ในช่วงเดือนแรกของการ ตั้งครรภ์ การพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งที่สำคัญ สำหรับช่วงแรกของการตั้งครรภ์ คำถามที่แพทย์จะสอบถามมักได้แก่

• ประวัติสุขภาพ เช่น ประวัติการเจ็บป่วย การผ่าตัด และ การตั้งครรภ์ครั้งที่ผ่านมา ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว
• การวัดความดันและชั่งน้ำหนัก ตรวจร่างกายอย่างสมบูรณ์
• การตรวจเชิงกรานและการทำ Pap test
• การตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะ
• กำหนดวันคลอดอย่างคร่าวๆ
• ตอบข้อสงสัยต่างๆจากคุณแม่ การตรวจต่างๆ ในช่วงไตรมาสแรก การตรวจต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นคือ การตรวจเลือด ว่าซีดหรือไม่ ซิฟิลิส เอดส์ ไวรัสตับอักเสบ บี ตรวจปัสสาวะ การเพาะเชื้อหากมีการติดเชื้อ หรือ การอัลตราซาวนด์ ซึ่งแพทย์จะต้องมีการอธิบายและแจ้งในช่วงการเข้ามาพบแพทย์

การตรวจพิเศษ

อาจรวมถึง Nuchal Translucency Screening (NTS) เป็นการตรวจพิเศษชนิดใหม่ที่จะทำในช่วงสัปดาห์ที่ 11 - 14 ของการตั้งครรภ์โดยการอัลตราซาวนด์ ดูความหนาของเนื้อเยื่อบริเวณหลังของตัวอ่อน ซึ่งมักทำร่วมกับการเจาะเลือดเพื่อหาระดับโปรตีนที่เรียกว่า alphafetoprotein, human chorionic gonadotropin (hCG) และ ฮอร์โมน Estrogen โดยข้อมูลทั้งสองนี้ แพทย์จะใช้เพื่อการวินิจฉัยว่าตัวอ่อนจะมีโอกาสที่จะผิดปกติหรือไม่

จาก การศึกษาล่าสุด NTS พบ 87% ของจำนวนที่พบว่ามีความผิดปกติที่เรียกว่า โรคดาวน์ซินโดรมได้ เมื่อตรวจขณะตั้งครรภ์ได้ 11 สัปดาห์ เมื่อได้รับการตรวจเลือดเพิ่มในช่วงไตรมาสสอง ก็พบว่า 95% ของตัวอ่อนที่มีความผิดปกติของดาวน์ซินโดรมสามารถตรวจสอบได้อย่างไรก็ตามผล ที่ออกมาอาจมีโอกาสที่จะผิดพลาดได้ ใน 5% ผู้หญิงที่ได้รับการตรวจ NTS ผลแสดงว่าทารกในครรภ์มีความเสี่ยงที่จะผิดปกติ ทั้งๆ ที่ทารกสุขภาพดีได้ เรียกว่าผลบวกหลอก (False positive) เพื่อความมั่นใจในผลที่ได้รับ

เมื่อ มีการทดสอบด้วย NTS แล้วมักจะมีการตรวจพิเศษอื่นๆ เพิ่มเติมเช่น การตรวจ เซลล์ของรก ( chorionic villus sampling - cvs ) หรือการตรวจน้ำคร่ำ (amniocentesis)

Chorionic Villus Sampling (CVS)

มัก จะทำเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 10 และ 12 สัปดาห์ โดยที่แพทย์จะใช้เข็มเจาะผ่านทางหน้าท้อง เข้าไปที่รก และจะดูดเอาตัวอย่างหรือน้ำคร่ำ เพื่อนำมาตรวจหาโดรโมโซม การตรวจพิเศษชนิดนี้ไม่สามารถบอกได้ว่าทารกในครรภ์มีความผิดปกติของเส้น ประสาทหรือไม่ และผลตรวจ 1 ใน 200 ของผู้หญิงที่ได้รับการตรวจอาจจะมีผลที่ผิดพลาดได้

ขอบคุณข้อมูลจาก
 นพ.ธีรศักดิ์ ธำรงธีระกุล และทีมแพทย์ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก และผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น