จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ภาวะตัวเหลืองในเด็กแรกเกิด Neonatal jaundice

ภาวะตัวเหลืองในทารก   ตามปกติทารกแรกเกิดทุกคนจะมีตัวเหลืองมากบ้างน้อยบ้างเป็นปกติ โดยทั่วไปจะพบว่าตัวเหลืองมากที่สุดช่วง 3-4 วันหลังเกิด ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ทารกและมารดาออกจากโรงพยาบาลแล้ว ซึ่งมารดาจะต้องสังเกตว่า ลูกตัวเหลืองมากจนต้องกลับมาพบแพทย์ เพื่อทำการประเมินและตรวจร่างกายซ้ำว่า ไม่เป็นอันตรายต่อทารกหรือไม่          ทารกที่มาพบแพทย์เมื่อตัวเหลืองมากจนถึงขั้นเป็นพิษกับเนื้อสมอง อาจจะสายเกินไป เพราะภาวะดังกล่าวได้ส่งผลเสียหายกับสมองที่เรียกว่าเป็น “สมองพิการ” ทำให้ทารกมีอาการบิดเกร็งแขนขา หลังแอ่น ชัก และอาจเสียชีวิตได้ หรือถ้ารอดชีวิตก็อาจมีผลในระยะยาว เช่น ปัญญาอ่อน การได้ยินบกพร่อง แขนขาเกร็งผิดปกติ เป็นต้น
          ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะตัวเหลืองมากในทารกจนอาจเป็นอันตราย ได้แก่ ทารกที่เกิดก่อนกำหนด, ทารกที่กรุ๊ปเลือดแม่และลูกไม่เข้ากัน เช่น แม่มีเลือดกรุ๊ปโอ ลูกมีเลือดกรุ๊ปเอหรือบี, ภาวะหรือโรคที่ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย ที่พบบ่อย เช่น ภาวะพร่อง จี 6 พีดี  (G-6PD deficiency) หรือมีประวัติเคยมีบุตรที่ต้องส่องไฟรักษาตัวเหลืองมาก่อน รวมทั้งลูกได้น้ำนมไม่เพียงพอและมีน้ำหนักตัวลดลงมาก

          ดังนั้น หากทารกที่เพิ่งเกิดและมีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว พ่อแม่ควรหมั่นสังเกตอาการตัวเหลืองในลูก หากไม่แน่ใจว่าตัวเหลืองมากผิดปกติหรือไม่ ควรนำทารกไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจประเมิน ทั้งนี้ในปัจจุบันการรักษาภาวะตัวเหลืองมากผิดปกติทำได้ง่ายๆ โดยการส่องไฟ ซึ่งมีประสิทธิภาพสูง สามารถลดระดับตัวเหลืองได้ นอกจากนี้ หากตัวเหลืองมากจนอาจเป็นอันตราย ก็สามารถให้การรักษาด้วยวิธีการเปลี่ยนถ่ายเลือดได้

มารู้จัก ไวรัส โรต้า กันเถอะ

โรต้า ไวรัส



เชื่อว่าคุณแม่หลายคนคงเคยผ่านประสบการณ์ลูกน้อยร้องไห้งอแง ท้องเสีย อาเจียนแล้วก็ไข้ขึ้นสูงกันอยู่บ่อยครั้งจริงไหมคะ ทุกวันนี้มีเชื้อโรคและโรคจากการติดเชื้อมากมายที่คุณแม่หลายคนคงยังไม่ทราบ การรับรู้ข่าวสารให้ทันต่อโลกเสมอก็ช่วยให้คุณแม่รู้วิธีป้องกันลูกน้อยให้ห่างไกลจากโรคร้ายต่างๆได้ดีเลยทีเดียว ไม่รู้ว่าเคยได้ยินไวรัสโรต้ากันหรือยัง ลองมาทำความรู้จักกันหน่อยก็ดีนะคะ เพราะโรคนี้ร้ายแรงกว่าที่คิดมากมายจริงๆ

   ลองมาฟังประสบการณ์ตรงเลยดีกว่าค่ะ ว่าโรคนี้ร้ายแรงและน่าเป็นห่วงต่อสุขภาพของเด็กๆมากขนาดไหน
   อาการไข้สูง อาเจียนและอุจจาระร่วงในเด็กเล็กอาจไม่ใช่โรคธรรมดาอีกต่อไปแล้วนะคะแต่เป็นภัยร้ายคุกคามชีวิตลูกน้อยอย่างคาดไม่ถึง เพราะถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงทีอาจนำมาซึ่งความสูญเสียได้ ในฐานะที่เป็นคุณแม่ก็อยากเล่าประสบการณ์ตรงเมื่อลูกติดเชื้อไวรัสโรต้าค่ะ

   “ตอนนั้นน้องอายุประมาณเดือนเศษๆ ค่ะ วันแรกที่เป็นนั้น ตอนเช้าน้องมีอาการซึม และทานนมน้อยผิดปกติ ถ่ายเหลวในช่วงบ่าย หลังจากที่ถ่ายไป 3 ครั้ง และอาเจียน 1 ครั้ง ก็รีบให้น้ำเกลือแร่เพราะกลัวเสียน้ำ แต่น้องก็ยังซึมๆ อยู่ ด้วยความกังวลจึงรีบพาไปโรงพยาบาล พอดีเป็นหมออยู่แล้วจึงตรวจลูกเอง ตรวจเลือด อุจจาระ ให้น้ำเกลือเข้าเส้นเลือด พร้อมทั้งยาฆ่าเชื้อ วันแรกน้องมีไข้สูงทั้งคืน ประมาณ 38.6 องศาเซลเซียส ไม่ค่อยทานนม อาเจียนบ่อยมาก และถ่ายเป็นน้ำประมาณ 14-15 ครั้งต่อวันติดต่อกันหลายวัน ต้องนอนรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล 1 อาทิตย์ ตอนเจาะให้น้ำเกลือสงสารลูกมากเพราะเค้ายังเล็ก ตอนนั้นรู้สึกกังวลและเครียดมาก ห่วงว่าจะติดเชื้อเข้ากระแสเลือดหรือในเยื่อหุ้มสมอง ผลตรวจปรากฎว่าติดเชื้อไวรัสโรต้าซึ่งไม่เคยคิดมาก่อนเลยเพราะเราเลี้ยงและดูแลความสะอาดให้เขาเป็นอย่างดี

   “ช่วงนั้น กังวลมากจนไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ต้องคอยมาเฝ้าลูก ถ้าเขาเป็นอะไร ก็ดวงใจของเรา จึงอยากแนะนำคุณแม่ท่านอื่นให้ป้องกันไว้แต่เนิ่นๆ แนะนำให้ลูกทานนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน เพราะนมแม่จะช่วยให้เด็กมีภูมิต้านทาน และที่สำคัญ ควรให้เด็กรับวัคซีนป้องกันไวรัสโรต้าโดยเร็วเพราะในกรณีนี้ลูกก็เป็นตอนอายุได้เดือนเศษๆเอง
“ไวรัสโรต้า ป้องกันก่อน มั่นใจกว่า”  
  
แพทย์หญิงจันทร์จิรา พงษ์ศรีหตุลชัย

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เชื้อราผิวหนังในเด็ก...อันตรายกว่าที่คิด

อากาศร้อนมักจะทำให้เหงื่อออกมากจนเกิดการอับชื้นตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย จึงทำให้เกิดเชื้อราได้ง่าย โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่ผิวยังบอบบาง และสนุกกับการวิ่งเล่นโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ดังนั้น เวลาที่ลูกมีเหงื่อออกมาก คุณพ่อคุณแม่จึงต้องดูแล และรักษาความสะอาดผิวหนังของลูกน้อยให้ดี เพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อราที่ผิวหนัง




การติดเชื้อราที่ผิวหนัง แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีอาการและการรักษาที่แตกต่างกันไป

กลาก (Dermatophytosis)

เกิดจากการได้รับเชื้อจากการสัมผัสผู้ที่เป็นโรคหรือติดจากสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว หรือถอดรองเท้าเล่นในพื้นดินที่มีเชื้อรา
อาการ : ผิวหนังเป็นผื่นแดง คัน เป็นวงมีขุย หรือตุ่มแดง ที่ชอบพบบริเวณหน้า ลำตัว แขน ขา แต่หากเป็นผื่นบริเวณศีรษะจะเรียกว่า ชันนะตุ (Kerion) เป็นก้อนนูน อาจมีตุ่มหนอง พอแตกจะมีน้ำเหลืองเยิ้ม ซึ่งอาจพบผมร่วงหรือมีต่อมน้ำเหลืองโตร่วมด้วย
รักษา : ถ้าเป็นกลากที่ผิวหนังให้ใช้ยารักษาเชื้อราทา วันละ 2 ครั้ง ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ส่วนกลากบริเวณศีรษะต้องกินยาร่วมด้วย โดยยาหลักในเด็กคือ กริซีโอฟุลวิน (Griseofulvin) กินนาน 6-8 สัปดาห์ และสระผมด้วยแชมพูที่มีตัวยานี้เป็นส่วนผสมด้วย
ป้องกัน : ล้างมือและเท้าของลูกให้สะอาดทุกครั้งหลัง การเล่นอาบน้ำทุกวัน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หลังอาบน้ำและสระผมแล้ว ควรเช็ดตัวและผมให้แห้ง โดยเฉพาะก่อนนอน เพื่อไม่ให้เกิดการอับชื้น ระวังอย่าให้ลูกคลุกคลีกับผู้ที่เป็นโรค และหลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดตัว หวี ผ้าปูที่นอน หมอน เป็นต้น

เกลื้อน (Tinea versicolor)

พบได้บ่อยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ พบมากในช่วงอากาศร้อนและในเด็กที่มีเหงื่อออกมาก
อาการ : ผิวหนังจะเป็นด่าง เป็นวงสีขาว สีแดง หรือสีขี้เ ถ้าเป็นขุยละเอียดโดยเริ่มจากจุดเล็กๆ ถึงเป็นวงใหญ่ พบตามลำตัว แขน ขา หน้า หรือคอ มักจะไม่มีอาการคัน
รักษา : ใช้ยาทาสำหรับโรคเกลื้อน เช่น โซเดียม ,ไทโอ ซัลเฟต, เซเลเนียม ซัลไฟด์ (Selenium sulfide) หรือยา กลุ่มอิมิดาโซล (Imidazoie) ทาวันละ 2 ครั้ง นานประมาณ 2-4 สัปดาห์
ป้องกัน : รักษาความสะอาดและความแห้งของร่างกายและเสื้อผ้าอยู่เสมอ อย่าใส่เสื้อผ้าที่อับหรือเปียกเหงื่อนานๆ หลังอาบน้ำแล้วให้เปลี่ยนเสื้อใหม่ อย่าใส่เสื้อตัวเดิมที่อับเหงื่อ

ยีสต์ (Candidiasis)

พบได้บ่อยในเด็กตั้งแต่แรกเกิด-อายุ 3 ปี โดยสาเหตุที่พบบ่อยเกิดจากการติดเชื้อแคนดิดาอัลบิแคนส์ (Candida albicans) นอกจากนี้ ยังเกิดจากการได้รับยาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน ในเด็กที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเด็กที่อ้วนมากจะทำให้เป็นมากขึ้น
อาการ : เป็นผื่นแดงเปื่อยบริเวณข้อพับ คอ รักแร้ ขาหนีบ ก้น หรือตามบริเวณที่อับชื้นของร่างกาย ส่วนในทารกแรกเกิดจะมีผื่นในช่องปากตามกระพุ้งแก้มหรือเพดานปาก ลักษณะเป็นแผ่นฝ้าสีขาวคล้ายน้ำนม
รักษา : ใช้ยากลุ่มอิมิดาโซล (Imidazole) ทาวันละ 2 ครั้ง นานประมาณ 1-2 สัปดาห์ ถ้าเป็นภายในช่องปากใช้ยาเจนเซียน ไวโอเลต (Gentian violet) หรือใช้ Nystatin suspension ทาวันละ 1-2 ครั้ง ประมาณ 1-2 สัปดาห์
ป้องกัน : หากลูกยังใส่ผ้าอ้อมควรระวังอย่าให้อับชื้น หลังอาบน้ำควรทำความสะอาดและซับตัวให้แห้ง โดยเฉพาะบริเวณข้อพับ ขาหนีบ และตามซอกไม่ควรโรยแป้งบริเวณที่มีผื่น เพราะเวลาเหงื่อออกจะทำให้ผิวบริเวณที่โรยแป้งมีความอับชื้นมากขึ้น
ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าโรคติดเชื้อราทางผิวหนังทั้ง 3 ชนิด จะมีอาการใกล้เคียงกัน แต่หากลูกเริ่มมีอาการหรือสงสัยว่าจะเป็นโรคติดเชื้อราที่ผิวหนัง คุณพ่อคุณแม่ควรรักษาความสะอาดผิวหนังของลูกให้ดี พาลูกไปพบแพทย์ผิวหนัง เพื่อจะได้วินิจฉัยโรคอย่างถูกต้อง และไม่ควรซื้อยามาทาให้ลูกเอง เพราะอาจเป็นอันตรายได้ค่ะ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
Mother & Care ฉบับเดือนพฤษภาคม 2552

วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ลิ้นติด (Ankyloglossia หรือ Tongue-tie)



ลิ้นติด (Ankyloglossia หรือ Tongue-tie)
                                                                 
ลิ้นติด เป็นภาวะที่การเคลื่อนไหวอย่างปกติของลิ้นที่เคยเคลื่อนโดยอิสระ ถูกจำกัดจากการที่ lingual frenulum ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่ยึดเกาะระหว่างใต้ลิ้นกับพื้นล่างของช่องปากเกิดความผิดปกติ ซึ่ง frenulum อาจสั้นไปและยึดติดกับลิ้นแน่นไป หรืออาจเกาะออกไปตามพื้นล่างของลิ้นยาวเกินไป หากยื่นไปถึงปลายลิ้น อาจทำให้เห็นปลายลิ้นเป็นรูปตัว V หรือเป็นรูปหัวใจ ภาวะนี้มักเป็นกรรมพันธุ์และไม่สามารถป้องกันได้

                ภาวะ ลิ้นติดมาก ๆ อาจทำให้แลบลิ้นยื่นออกมาและกระดกลิ้นไม่ได้ ทำให้เชื่อว่าอาจไปขัดขวางการเคลื่อนไหวตามปกติของลิ้นที่เป็นลูกคลื่นเวลา ที่ลูกดูดนมแม่ (peristalsis) ส่งผลให้หัวนมแม่มีการชอกช้ำ และเกิดปัญหาการได้น้ำนมแม่อย่างพอเพียง และการเพิ่มน้ำหนักตัวของลูก

                พบประมาณ 3.2-4.8 % ของเด็กคลอดครบกำหนด และพบประมาณ 12.8 % ของเด็กที่มีปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มอุบัติการณ์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่มีปัญหาคือ ประมาณ 25 % ของเด็กที่มีภาวะนี้ : 3 % ของเด็กที่ไม่มีภาวะนี้
   ผลของลิ้นติดต่อทารก ปกติภาวะลิ้นติดจะค่อย ๆ หายไปเมื่อเด็กอายุ 2-3 ปี แต่ในเด็กเล็กอาจเกิดปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เช่น ดูดนมไม่ได้ดี อมหัวนมแล้วมักหลุด น้ำหนักตัวไม่ค่อยขึ้นจากการได้น้ำนมไม่พอ แม่เจ็บหัวนมหรือหัวนมเป็นแผล แม่สร้างน้ำนมน้อยลง ๆ    ซึ่งเด็กกลุ่มนี้อาจจะต้องได้รับการแก้ไขโดยการผ่าตัดที่เรียกได้หลายอย่างเช่น frenulectomy, frenulotomy, frenectomy, หรือ frenotomy
ข้อบ่งชี้ว่าเด็กมีลิ้นติดที่ควรได้รับการแก้ไข:-

           เจ็บหัวนมหรือมีร่องรอยฟกช้ำหรือเป็นแผล

           หัวนมผิดรูปไปหลังจากให้นมลูกแล้ว

           มีรอยกดหรือรอยเป็นริ้ว ๆ บนหัวนมหลังลูกดูดนมแล้ว

           ลูกมักดูดไม่ได้ หรือดูดแล้วหลุด เลยทำให้ดูดได้แต่ลม

           ได้ยินเสียงคล้ายกระเดาะลิ้นจากปากลูกขณะดูดนมแม่

           น้ำหนักตัวลูกไม่ขึ้นหรือขึ้นช้า
อาการแสดง   

           ลูกแลบลิ้นได้ไม่พ้นริมฝีปากหรือเหงือกบน

           ไม่สามารถกระดกปลายลิ้นขึ้นไปสัมผัสเพดานปากได้

           ไม่สามารถเคลื่อนไหวลิ้นไปด้านข้างได้

           เมื่อแลบลิ้น ปลายลิ้นจะแบนไม่มน หรือเป็นเหลี่ยม ไม่แหลมมนอย่างทั่ว ๆ ไป

           ปลายลิ้นอาจเป็นร่องหยักเข้ามา หรือเป็นรูปหัวใจ

การประเมิน  ควร ตรวจภายในช่องปากอย่างถี่ถ้วน ประเมินทั้งหน้าที่และกายวิภาค การตรวจควรครอบคลุมการคลำเพดานอ่อนและเพดานแข็ง เหงือก และบริเวณใต้ลิ้น รวมทั้งตรวจการเคลื่อนไหวของลิ้น ความยาว ความยืดหยุ่น และจุดใต้ลิ้นที่ sublingual frenulum ไปเกาะ

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

นมแม่...อาหารสมองของลูกรัก


มแม่อาหารสมองของลูกรัก..... คำๆนี้ไม่เชยเลยจริงๆและเป็นความจริงที่สามารถพิสูจน์ได้จากผลงานการวิจัยจากหลายสถาบัน  แต่คุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วนยมแม่ มักจะประสบปัญหาอยู่หลายข้อด้วยกัน ยคุณแม่บางท่านถึงกับถอดใจไปเลยที่เดียวค่ะ  วันนี้ มีคำตอบมาให้เหล่าคุณแม่ทั้งหลายแล้ว อย่าเพิ่งท้อนะคะแวะเข้ามาอ่านก่อนค่ะ

คลอดหลายวันแล้ว แต่น้ำนมยังไม่มีเลยค่ะ
มีคุณแม่หลายๆ ท่านที่มีปัญหาน้ำนมไม่ไหล หรือไหลไม่พอ จริงๆ มีวิธีการแก้ไขเบื้องต้นก่อน แต่หากแก้ไขแล้วไม่ได้ผลก็คงต้องใช้นมผงแทนค่ะ ในการเลือกนมผงสำหรับลูกน้อยนี้ ควรซื้อแบบกระป๋องเล็กๆ ก่อนจะได้หมดเร็วๆ เมื่อเปิดกระป๋องแล้วควรให้ลูกทานให้หมดภายใน 7 วัน เพราะเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อราต่างๆ ที่ปะปนในอากาศอาจจะเข้าไปก่อตัวได้ค่ะ เมื่อทานหมดแล้วก็ควรทิ้งกระป๋องไปเลย ไม่ควรเอามาใช้ใหม่ (ยกเว้นว่าเอาไปใส่ของอย่างอื่น) อย่าได้นำนมผงแบบถุง (แบบเติม) มาใส่ในกระป๋องนมเก่านะค่ะ พอลูกโตขึ้นหน่อยจึงเลือกกระป๋องที่ใหญ่ขึ้นค่ะ

ขวดนมแบบไหนปลอดภัยกับลูกรัก
คุณแม่ควรเลือกขวดนมที่ทำความสะอาดง่าย ควรเลือกแบบที่สามารถใช้แปรงทำความสะอาดได้ทุกซอกทุกมุมสามารถกำจัดคราบนมที่เกาะได้หมดจดไม่ควรเลือกขอดที่มีรูปทรงโค้งเว้าจนเกินไป การต้มขวดนมอย่างเดียวไม่สามารถกำจัดคราบนมได้หมดแต่เราก็จำเป็นต้องต้มขวดนมค่ะ ดังนั้นขวดนมที่ใช้ควรจะเป็นแก้ว เพราะทนต่อความร้อน และถ้าเราใช้กับเด็กอายุไม่เกิน 4 เดือนขวดนมควรมีขนาดไม่เกิน 4 ออนซ์ เพื่อที่คุณจะได้ถือขวดนมให้ลูกดื่ม เพราะหากเด็กถือเองอาจจะทำแตกได้ค่ะ พอเด็กโตขึ้นมาหน่อยก็เปลี่ยนมาเป็นขวดนมที่ใหญ่ขึ้น


ลูกหนึ่งคนควรเตรียมขวดนม กี่ ขวดคะ
จำนวนขวดนมที่ควรมีไว้ควรมีอย่างน้อย 3-4 ใบค่ะ คือ ใบที่ 1 ใช้ช่วงตื่นนอน สายๆ ใช้อีก 1 ใบ ช่วงเที่ยง ใช้อีก 1 ใบ ช่วงบ่ายให้ล้างขวดนมและต้มขวดนมและจุกนมจนน้ำเดือด หลังจากน้ำเดือดให้ต้มต่อไปอีก 10 นาทีจึงเอาขวดนมและจุกนมขึ้นมาพักให้เย็นและแห้ง อย่าลวกเฉยๆ นะคะ เพราะมันไม่สะอาดพอ สำหรับจุกนมก็ต้องเลือกให้ดีนะคะ ในเด็กแรกเกิดถึง 3 เดือน ควรเลือกจุกนมที่มีรูเล็กสุด ทดสอบด้วยการคว่ำขวดนมดู ถ้านมไม่ไหลออกมาก็ใช้ได้ค่ะ เพราะถ้าไหลออกมาเองลูกจะดูดนมไม่ทันและจะสำลักนมได้ค่ะ ถ้าลูกโตขึ้นอายุประมาณ 6 เดือนไปแล้วจึงใช้จุกนมที่รูใหญ่ขึ้นได้ค่ะ

ลูกท้องเสียทำอย่างไร
ทารกในช่วงอายุ 5-7 วันแรก อาจจะถ่ายเหลวได้บ่อยๆ บางวันอาจถ่าย 15-20 หน แต่หากมีเลือดปนออกมาก็ควรงดให้นมแม่ก่อน แต่จริงๆ แล้วการถ่ายบ่อยแบบนี้ไม่ใช่ท้องเสียนะค่ะ ดังนั้นลองเปลี่ยนวิธีแก้ไขใหม่ โดยบีบน้ำนมแม่ช่วงแรกออกไปก่อนซัก 20-30 มิลลิลิตร แล้วค่อยให้ลูกดูดนม เพราะน้ำนมจะมีปริมาณไขมันมากกว่าน้ำนมช่วงต้น ลูกจะอิ่มนานขึ้นด้วยค่ะ การถ่ายก็จะห่างขึ้น เมื่อลูกถ่ายบ่อยการล้างก้นให้ลูกก็สำคัญ เราควรล้างด้วยความระมัดระวัง ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมทันทีค่ะ เพราะอุจจาระของลูกจะเป็นกรดอ่อนๆ จะกัดผิวหนังบริเวณก้นของลูกได้ค่ะ เสร็จแล้วซับก้นด้วยสำลีแห้ง แล้วยังไม่ต้องรีบใส่ผ้าอ้อม แต่เราควรผึ่งลมให้แห้งก่อนค่ะ เมื่อก้นแห้งสนิทแล้วจึงทาแป้งแล้วจึงใส่ผ้าอ้อมได้ค่ะ

เมื่อคุณแม่ต้องไปทำงานแต่อยากให้ลูกดื่มนมแม่จะทำอย่างไรดี
คุณแม่ส่วนมากจะลาคลอดได้เพียง 3 เดือนซึ่งในระยะเวลา 3 เดือนนี้คุณแม่ควรจะให้นมแม่เพียงอย่างเดียว เมื่อใกล้ครบ 3 เดือนลูกจะหิวง่ายขึ้น เพราะเด็กโตเร็ว เราจึงควรฝึกให้ทานอาหารเสริม 1 มื้อโดยเริ่มจากข้าวบดใสๆ ก่อน แล้วค่อยเติมฟักทองสลับกับผักใบเขียว ต่อมาค่อยเติมสลับกับไข่แดง เมื่อจะครบ 3 เดือนที่คุณแม่จะต้องกลับไปทำงานแล้ว เราก็ยังสามารถให้ลูกดูดนมจากเต้าได้ โดยตอนเช้าให้ลูกดูดนมให้เต็มที่ จากนั้นบีบนมที่เหลือทั้ง 2 เต้าใส่ขวดนม โดยปกติจะได้น้ำนมประมาณ 8-12 ออนซ์ให้เราเก็บไว้ในตู้เย็นในช่องเย็นธรรมดา เมื่อถึงเวลาที่จะให้ลูกทานนม ให้นำนมออกมามาวางไว้นอกตู้เย็นหรือแช่น้ำอุ่น แล้วจึงค่อยให้ลูกทาน แต่เด็กบางคนก็ดื่มนมเย็นได้นะค่ะ ในกรณีที่ลูกหิวอีก อาจให้พี่เลี้ยงหรือผู้ดูแลให้อาหารเสริม 1 มื้อ เมื่อคุณกลับมาจากทำงานก็สามารถให้นมลูกจากเต้าได้ค่ะ และควรฝึกลูกแบบนี้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ก่อนที่คุณจะเริ่มกลับไปทำงานค่ะ
แต่ในปัจจุบัน พบว่าที่ทำงานหลายแห่งได้สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จึงจัดมีมุมนมแม่ หรือมุมสำหรับให้คุณแม่ปั๊มนม ไม่ยากเลยค่ะ แค่คุณแม่ซื้อเคื่องปั๊มนมแบบพกพา ปั๊มที่ทำงาน ห่างกันสองสาชั่วโมงปั๊มที นานครั้งละ20 นาที คงไม่ถือว่านานจนเสียงานหรอกนะคะ


นมแม่ที่แช่เย็นไว้จะเก็บรักษาอย่างไร
ในกรณีที่คูณแม่ปั้มนมเก็บไว้ในวันเสาร์-อาทิตย์ หรือวันหยุด ให้เก็บนมที่ปั้มไว้ในช่องแช่แข็ง เมื่อถึงเวลาใช้ให้นำมาวางไว้นอกตู้เย็น หรือแช่น้ำอุ่น ห้ามอุ่นนมในน้ำร้อนจัดหรือเข้าไมโครเวฟ เพราะภูมิต้านทานในนมแม่จะสูญเสียไป และเราควรนำนมที่ปั้มเก็บไว้นานที่สุดมาใช้ก่อน โดยนำมาวางไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา 1 คืนให้ละลายก่อนก็ได้ค่ะ สำหรับนมแม่ที่แช่แข็งแล้วนำมาละลายแล้วหากลูกทานไม่หมดไม่ควรนำกลับไปแช่แข็งอีก หรือนมแม่ที่ละลายแล้วแต่ลูกยังไม่ได้กิน ให้เรารีบนำกลับไปแช่ตู้เย็นใหม่และจะยังสามารถเก็บได้อีก 4 ชั่วโมงหรือจนถึงมื้อต่อไป แต่หากนมที่ละลายแล้ววางที่อุณหภูมิปกติเกิน 1 ชั่วโมง ขอให้ทิ้งไปเลยนะค่ะอย่าเก็บไว้ค่ะ แตถ้าเป็นตู้เย็นที่แช่นมแม่อย่างเดียวและมีการตรวจเช็คอุณหภูมิอย่างดี ช่องธรรมดา เก็บได้นานถึง24ชั่วโมง และช่องแข็งเก็บนาน3เดือน แต่อุณหภูมิของตู่เย็นต้องอยู่ในช่วง 0-8 องศาเซลเซียส

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เลือกกุมารเเพทย์อย่างไรดี



โดยปกติ เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ ว่าที่คุณแม่ส่วนใหญ่มักจะสอบถามเพื่อนฝูง คนรู้จัก เพื่อขอคำแนะนำในการฝากครรภ์ว่าควรจะฝากที่ไหน  แพทย์คนใด  แต่ส่วนใหญ่มักจะลืมไปว่า หลังจากคลอดแล้ว แพทย์ที่จะดูแลลูกต่อจากนั้นไม่ใช่สูติแพทย์ท่านเดิมแล้วค่ะ   จะต้องเปลี่ยนเป็นกุมารแพทย์  ฉะนั้นก่อนคลอดควรสอบถามและเลือกกุมารแพทย์ที่สนับสนุน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ให้เป็นกุมารแพทย์ ประจำตัวลูกนะ
แม้ว่าแพทย์และพยาบาลทุกท่านจะพูดตรงกันว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก แต่ก็ไม่ใช่ว่าแพทย์หรือพยาบาลทุกท่านจะสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อย่างจริงจัง    ส่วนใหญ่จะสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็ต่อเมื่อกรณีนั้นไม่มีปัญหา   แต่ถ้าหากมีปัญหาเมื่อใด ส่วนใหญ่ก็จะแนะนำให้หย่านม หรือใช้นมผสมช่วย   แพทย์หรือพยาบาลที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างแท้จริง จะต้องพยายามอย่างเต็มที่ ในการที่จะช่วยเหลือ หรือแก้ปัญหาให้คุณแม่ เพื่อให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ดำเนินต่อไปได้

ต่อไปนี้เป็นข้อสังเกตว่าแพทย์หรือพยาบาลท่านนั้น ไม่ได้  สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อย่างจริงจัง
1. แพทย์ท่านนั้นให้นมผสมที่แจกฟรีเป็นตัวอย่าง รวมทั้งเอกสารแนะนำคุณสมบัติของนมผสมยี่ห้อนั้นๆ แก่คุณ
การแจกตัวอย่างนมผสมผ่านโรงพยาบาลหรือบุคลากรทางการแพทย์นั้น เป็นสุดยอดการตลาดที่สร้างความน่าเชื่อถือให้กับคุณแม่ทั้งหลายว่านมผสมนั้นดีไม่แพ้นมแม่  ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
2.แพทย์ท่านนั้นบอกกับคุณว่านมผสมหรือนมแม่ก็เหมือนๆ กัน
แม้ว่าทารกที่กินนมผสมหรือกินนมแม่ ต่างก็เจริญเติบโตได้เหมือนๆ กัน  ไม่ได้หมายความว่า นมผสมจะเหมือนกับนมแม่ทุกประการ  มีส่วนประกอบหลายชนิดที่มีในนมแม่  แต่ไม่มีในนมผสม  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภูมิคุ้มกันและเซลล์ที่ทำหน้าที่ป้องกันการติดเชื้อโรคของทารก
3. แพทย์ท่านเอ่ยปากระบุยี่ห้อของนม ว่า นมผงยี่ห้อ..... ดีที่สุด อะไรประมาณนั้นค่ะ
4.แพทย์ท่านนั้นบอกกับคุณว่า ไม่จำเป็นต้องรีบพาลูกมาดูดนมทันทีหลังคลอด เพราะคุณแม่ควรจะพักผ่อนเพราะตจามหลักความเป็นจริง ต้องดูดทันที่ ที่คุณแม่พร้อม ถ้าพยาบาลนมแม่ตัวจริง เขาให้ดูดในห้องคลอด หรือห้องผ่าตัดเลยนะคะ ขอบอก!!!
5.แพทย์ท่านนั้นบอกกับคุณว่า เด็กทารกไม่มีปัญหากับการสับสนในการดูดนมแม่หรือนมขวดหรอก ควรจะหัดให้ดูดขวดเร็วๆ ลูกจะได้ไม่ปฏิเสธขวดในภายหลัง
การดูดนมแม่และดูดขวดนั้นมีลักษณะการดูดที่แตกต่างกัน การดูดขวดนมนั้น น้ำนมจะไหลเร็วตลอดเวลา โดยที่ลูกไม่ต้องออกแรงมาก ทำให้ลูกเคยชินกับการดูดขวดนมได้ง่าย เพียงแค่ให้ดูดครั้งหรือสองครั้ง แต่สำหรับการดูดนมแม่นั้น การวางลิ้นแตกต่างกัน แถมนมแม่ยังออกน้อย ต้องใช้ความพยาบยามค่อนข้างมากในการดูดแต่ละคั้ง หรือบางครั้ง คุณแม่ยังไม่มีนน้ำนมอีก
6. แพทย์ท่านนั้นแนะนำให้คุณหยุดให้นมลูก เมื่อคุณหรือลูกไม่สบา
ในความเป็นจริงแล้ว เมื่อคุณหรือลูกป่วย มีน้อยกรณีมากที่จะไม่สามารถให้นมต่อได้  ไม่ว่าจะเป็นโรคอะไร มียาหลายชนิดที่แพทย์สามารถเลือกใช้ได้ โดยไม่กระทบกับการให้นมลูกของคุณ  หากได้รับคำแนะนำให้หยุดให้นมลูกจากแพทย์ท่านใด  แสดงว่าแพทย์นั้นไม่เห็นความสำคัญของ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ขณธเจ็บป่วยสามารถใช้ทางเลือกที่2 ได้ค่ะโดยการปั้มนม และป้อนด้วยถ้วย หรือ ช้อน หรือ ใช้ Syringeไปก่อนได้ค่ะ  ขอให้สงสัยไว้ก่อน และลองปรึกษาแพทย์คนใหม่ดู 
7. แพทย์ท่านนั้นพูดหรือแสดงอาการแปลกใจว่า ทำไมคุณยังเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อยู่  ทั้งๆ ที่ลูกอายุตั้ง 6 เดือนแล้ว
8.แพทย์ท่านนั้นบอกว่าหลังจาก 6 เดือน นมแม่ไม่มีประโยชน์แล้ว
ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน นมแม่ก็ยังเป็น นม เหมือนเดิม มีไขมัน โปรตีน พลังงาน วิตามินและภูมิคุ้มกัน ที่ช่วยป้องกันเชื้อโรคให้กับทารกได้เหมือนเดิมทุกประการ คุณแม่บางท่าน เลี้ยงด้วยนมแม่ถึง ขวบครึ่งเลยค่ะ
9.แพทย์ท่านนั้นแนะนำว่า ไม่ควรปล่อยให้ลูกหลับคาอกแม่
ถ้าลูกหลับได้เองโดยไม่ต้องดูดนมแม่ก็เป็นเรื่องดี  แต่การที่ลูกหลับคาอกแม่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ไม่ควรทำ  กลับเป็นเรื่องที่น่าเพลิดเพลินเสียด้วยซ้ำ  ลูกก็หลับ แม่ก็ได้พักผ่อน อบอุ่นกันทั้งแม่ทั้งลูก

วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ลูกกรน ต้องกังวลไหม

ตามความเคยชินของคนเรามักคิดว่า เรื่องกรนเป็นเรื่องของคนที่มีอายุมากแล้ว เก็กๆตัวเล็กแบบนี้ไม่นอนกรนไปได้ แต่ของแบบนี้ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของแต่ละค ซึ่งคุณแม่ต้องคอยเอาใจใส่และเฝ้าสังเกตพร้อมทั้งแก้ปัญหา ดังนี้
  • ลองดูว่าเวลาที่ลูกกรนนั้น มีภาวะผิดปกติของร่างกายร่วมด้วยหรือไม่ อย่างเช่น ภูมิแพ้ หวัด ให้คุณแม่เคลียร์จมูกลูกด้วยที่ดูดน้ำมูก โดยจะใช้สเปรย์นเข้าไปก่อน เพื่อช่วยให้น้ำมูกอ่อนนุ่ม จะได้ดูดออกง่าย มีส่วนลดการกรนด้วย
  • ก่อนนอนให้อาบน้ำอุ่นให้แก่ลุก ดูดน้ำมูกขณะอาบน้ำอุ่นเพื่อลดอาการกรน วิธีนี้ใช้ได้ผลดีโดยเฉพาะในวัยทารก
  • ลดความชื้นในห้องลูก ให้ลมไหลเวียนบ้าง จะได้ลดอาการกรนได้
  • ลองพาลูกเข้านอนเร็วขึ้นเพราะส่วนหนึ่งของอาการกรนนี้คือเจ้าหนุเหนี่อยมากเกินไป
  • หากทำตามหนทางแก้ไขที่เสนอไปแล้วลูกยังมีอาการกรนหรือกรนมากขึ้นเรื่อยๆคุณแม่ต้องพาลูกไปพบกมารแพทย์เพื่อปรึกษาค่ะ

วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ภาวะมีเลือดออกปนน้ำนม... ขณะให้นมบุตร

น้ำนมมีเลือดปน
(Peinless bleding form the nipples / rusty pipe syndrome)

ภาวะน้ำนมมีเลือดปนอาจเป็นสีสนิมหรือสีเลือดสดออกจากหลังจากทารกออกทันที อาจพบระหว่างตั้งครรภ์หรือหลังคลอดหลายๆวัน เป็นภาวะที่ไม่ทราบสาเหตุอาจสัมพันธ์กับเต้านมมีเลือดมาเลี้ยงมากเป็นภาวะที่ทำให้แม่ตกใจ แต่ไม่มีอันตราย
การรักษาให้ลูกดูดนมปกติ ภาวะนี้มักหายไปใน 7 วันหลังคลอด หากอาการคงอยู่นาน 1-2 สัปดาห์ต้องหาสาเหตุโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเต้านม เพื่อวินิจฉัยแยกโรคมะเร็งเต้านม

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

รู้ทัน..... ป้องกันโรคเอ๋อ



โรคเอ๋อพบได้บ้างมนปัจจุบัน ถือเป็นภัยเงียบที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม โรคเอ๋อแตกต่างจากดาวน์ซินโดรมอย่างสิ้นเชิง คนทั่วไปมักจะคิดว่า มันคือโรคเดียวกัน แต่ความเป็นจริงนั้น ไม่ใช่เลยค่ะ เป็นคนละโรค และสาเหตุการเป็นโรคแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง คุณแม่ทุกท่านมาทำความเข้าใจกับโรคเอ๋อกันดีกว่าค่ะ

ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอรร์โมนแต่กำเนิด
(CONGENITAL HYPOTHYROIDISM : CHT )

ไทรอยด์ฮอร์โมนเป็นฮอร์โมนที่สำคัญสำหรับการทำงานของอวัยวะต่างๆของร่างกาย ซึ่งหลั่งจากต่อมหมวกไต โดยเฉพาะเด็กแรกเกิด จะมีผลต่อการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและเซลล์ประสาท ดังนั้นภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนต้องส่งผลกระทบต่อการพัฒนาระบบประสาท การทำงานของอวัยวะต่างๆของร่างกายและพัฒนาการทางร่างกาย อาการแสดงของงโรคจะไม่เห็นเมื่อแรกเกิด และมักแสดงอาการเด่นชัดขึ้น เมื่ออายุมากกว่า 3 เดือน โดยทั่วไปอาการเเสดงของทารกจะเห็นได้ในระยะเดือนที่2-3หลังคลอด ดดยในช่วง 3 ขวบแรก จะเป็นช่วงที่สำคัญของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของสมอง หากทารกมีภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนในระยะวิกฤตนี้จะมีผลให้เกิดความพิการทางสมองและเกิดภาวะปัญญา อ่อนตามมา  

อาการของภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิน
  1. เด็กเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ
  2. มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ลิ้นโต ท้องผูก สะดือจุ่น
  3. ผิวและผมแห้ง ขนคิ้วบาง ฟันขึ้นช้า
  4. ร่างกายแคระแกร็น น้ำหนักขึ้นน้อย

ท้อง ชัวส์ หรือ มั่วนิ่ม

ประจำเดือนไม่มา!!!! ท้องหรือเปล่า



  1.  ประจำเดือนขาดอาการประจำเดือนขาดนี้นับเป็นสัญญาณเริ่มต้นที่ชัดเจนที่สุด หากปกติแล้วประจำเดือนของคุณมักมาตรงเวลา แต่ก็ไม่แน่นอนเสมอไป บางครั้งอาจเกิดจากสภาพจิตใจในช่วงเดือนนั้นเช่นถ้ามีภาวะเครียด ประจำเดือนอาจจะมาไม่ปกติหรือขาดไป
    2.   คลื่นใส้อาเจียน
อาการแพ้ท้อง มักแตกต่างกันไปในแต่ละคน คุณแม่บางท่าน อาจมีอาการคลื่นไส้หรือรู้สึกไม่สบาย โดยมักจะเกิดขึ้นหลังจากตั้งครรภ์ได้สัก 2-3 สัปดาห์ แต่บางท่านก็มีอาการเพียงแค่ไม่กี่วันหลังตั้งครรภ์ ถ้าโชคดี คุณอาจไม่มีอาการแพ้ท้องเลยก็ได้ และการแพ้ท้องอาจเกิดขึ้นเวลาใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นช่วงเช้าเสมอไป

     3.   ปัสสาวะบ่อยขึ้น
 ถ้าคุณสังเกตเห็นว่าตัวเองเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้น นี่อาจเป็นสัญญาณที่น่ายินดีว่าคุณกำลังเริ่มตั้งครรภ์แล้ว ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในช่วง 3เดือนแรกจะทำให้คุณปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ

     4.   รู้สึกเหนื่อยง่ายหรือเปล่า
สัญญาณเริ่มต้นของการตั้งครรภ์ที่พบเห็นได้บ่อยอีกประการหนึ่งก็คือความรู้สึกเหน็ดเหนื่อยหมดเรี่ยวแรง ซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากการเพิ่มขึ้นของระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในร่างกายดังนั้นหากคุณรู้สึกเหนื่อยง่ายโดยไม่มีสาเหตุลองตรวจสอบดูว่าเป็นเพราะคุณกำลังตั้งครรภ์หรือเปล่า

     5   .รสชาติแปลกๆ ในปาก
 คุณแม่บางท่านเล่าว่าครั้งแรกที่ตั้งครรภ์จะรู้สึกขมเฝื่อนหรือมีรสชาติแปลกๆในปากขณะที่คุณแม่อีกหลายท่านก็รู้สึกเหม็นหรือทนไม่ได้กับอาหารหรือเครื่องดื่มที่เคยทานอยู่ทุกวันเช่นชาหรือกาแฟ   

     6.   การเปลี่ยนแปลงของเต้านม
 ผิวหนังบริเวณรอบเต้านมหรือที่เรียกว่าลานนมจะมีสีคล้ำขึ้นและมีขนาดใหญ่ขึ้น

     7.   มีเลือดออกโดยไม่คาดคิดหรือเป็นตะคริว
ไข่ที่ปฏิสนธิแล้วจะเดินทางจากท่อนำไข่เพื่อไปฝังตัวที่ผนังมดลูกและรอการเติบโต กระบวนการนี้เรียกว่า การฝังตัวของไข่ที่ผสมแล้ว และมักจะเกิดขึ้นในสัปดาห์ที่ 3 และ 4 ซึ่งอาจส่งผลข้างเคียง เช่น การเป็นตะคริว และมีเลือดออกกะปริดกะปรอย โดยเลือดอาจมีสีแดงสด สีชมพู หรือสีน้ำตาล
 
อย่างไรก็ตามค่ะ ถ้าจะให้แน่นอน และถูกต้องที่สุด ควรไปพบสูตินรีเเพทย์ที่โรงพยาบาล  บางที่อาการประจำเดือนขาดหายไปนั้นอาจจะไม่การตั้งครรภ์ คุณอาจจะมีโรคบางอย่างแอบแฝงอยู่