จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การผ่าตัดคลอดบุตร

การผ่าตัดคลอดบุตร

การผ่าตัดคลอดคืออะไรและทำไมต้องใช้วิธีนี้
เมื่อ แพทย์มีความเห็นว่าการคลอดด้วยวิธีการปกติจะทำให้คุณแม่หรือลูกน้อยมีความ เสี่ยงมากเกินไป แพทย์จะแนะนำให้ใช้วิธีการผ่าตัดคลอด ทั้งนี้สาเหตุที่แพทย์แนะนำให้ใช้วิธีการผ่าตัดคลอดอาจสืบเนื่องมาจาก

• ภาวะรกเกาะต่ำ เมื่อรกเกาะต่ำหรือขวางทางออกของทารก รกลอกตัวก่อนกำหนด มีการตกเลือดก่อนคลอด

• ตั้งครรภ์แฝดตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป

• ทารกมีการผิดสัดส่วนระหว่างศีรษะทารกกับช่องเชิงกราน  เกินกว่าที่จะคลอดผ่านกระดูกเชิงกราน

• ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ  เช่น เอาก้นลง/ท่าก้น  หรือ ขวางตัว

• คุณแม่มีความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรงหรือมีความเจ็บป่วยอื่น เช่น ครรภ์เป็นพิษ

• สุขภาพของทารกเสี่ยงต่อการเสียชีวิต  ซึ่งแพทย์จำเป็นต้องนำเด็กออกจากครรภ์โดยเร็ว

• มีภาวะสายสะดือย้อย คือเมื่อสายสะดือพลัดต่ำ ทำให้ไม่สามารถคลอดทารกออกมาได้โดยง่าย

• มี ภาวะแทรกซ้อนที่ต้องทำให้คลอดโดยเร็ว  เช่น สายสะดือย้อย  ทารกอยู่ในภาวะวิกฤต  ภาวะความดันโลหิตสูง  ครรภ์เป็นพิษอย่างรุนแรง  หรือ มีการชัก  ทารกมีการเจริญเติบโตช้า และอื่น ๆ

• น้ำเดินก่อนเจ็บครรภ์  โดยที่ปากมดลูกไม่พร้อมที่จะกระตุ้นให้คลอด

• มารดาเป็นโรคเริมที่อวัยวะเพศ ซึ่งสามารถติดต่อสู่ลูกน้อยผ่านการคลอดทางช่องคลอด

• มารดามีโรคประจำตัว

• มีบุตรเมื่ออายุมากแล้ว

• ในรายที่มารดาติดเชื้อ HPV

• กรณีอื่นนอกเหนือจากนี้ซึ่งแพทย์และผู้ป่วยได้พิจารณาร่วมกันแล้วว่าจะเป็นผลดีต่อทารกและ/หรือมารดาทางด้านสุขภาพ

• ในรายที่ผู้ป่วยต้องทำการกำหนดวันคลอดเอง  ไม่ถือเป็นข้อบ่งชี้ทางการแพทย์

• ในกรณีที่ไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์  ก็ให้เจ็บครรภ์และลองคลอดเองดูก่อนก็ได้

  ปัจจุบัน เพื่อลดความเจ็บปวดและทำการผ่าตัดได้อย่างได้ผล สูติแพทย์จะแนะนำให้คุณแม่ดมยาสลบหรือฉีดยาเข้าไขสันหลัง โดยคุณแม่จะไม่รู้สึกเจ็บระหว่างผ่าตัด แต่การดมยาสลบ คุณแม่จะไม่มีส่วนร่วมในการคลอด ไม่สามารถเห็นหน้าลูกทันทีที่เขาคลอด เพราะจะหลับไม่รู้ตัวและฟื้นตัวอีกทีหลังคลอด คุณแม่ส่วนใหญ่ จึงไม่เลือกวิธีนี้ อีกทั้งยาสลบอาจมีผลต่อลูกได้ เช่น ลูกคลอดแล้วไม่ร้อง ไม่ค่อยหายใจ เพราะเขาได้รับยาสลบเข้าไปด้วย ส่วนการฉีดยาเข้าไขสันหลังหรือบล็อกหลังนั้น ทารกไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด เพราะไม่ได้ดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด เพียงแต่จะทำให้ส่วนล่างชา ไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด แต่คุณแม่สามารถรับรู้ได้ทุกอย่าง พร้อมทั้งได้ยินเสียงลูกและได้เห็นหน้าลูกทันทีที่เขาคลอดออกมา

ขั้นตอนในการผ่าตัดคลอด

ท่าน จะได้รับการซักประวัติการเจ็บป่วยและโรคประจำตัว รวมทั้งตอบคำถามต่างๆ ที่คุณแม่สงสัย แพทย์จะเจาะตัวอย่างเลือดและให้คุณลงชื่อในหนังสือแสดงความยินยอม แพทย์อาจจะให้ยาลดกรดในกระเพาะอาหารเพื่อปรับสภาพความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร ให้เป็นกลางและต่อสายน้ำเกลือเข้าหลอดเลือดดำที่แขน เพื่อที่แพทย์จะสามารถสังเกตระดับสารน้ำในร่างกาย  และให้ยาแก้ปวดเพิ่มเติมได้ถ้าคุณแม่ต้องการ

การเตรียมการสำหรับการผ่าตัดคลอด
วิสัญญี แพทย์จะให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่ (การฉีดยาเข้าช่องเหนือช่องน้ำไขสันหลังหรือการฉีดยาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง) และ  ใส่สายสวนไว้  ใน กระเพาะปัสสาวะ  เพื่อระบายปัสสาวะ (ใส่ไว้ประมาณ 12-24 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด)  อาจต้องโกนขนบริเวณหัวหน่าวเพื่อเตรียมรับการผ่าตัด

การผ่าตัดคลอดทำอย่างไร
เมื่อ ยาชาออกฤทธิ์ แพทย์จะเริ่มลงมือผ่าตัดด้วยการผ่าเปิดหน้าท้องเพื่อให้สามารถมองเห็นทารก ที่อยู่ในถุงน้ำคร่ำ และนำทารกออกจากถุงน้ำคร่ำสู่อ้อมอกของคุณแม่ การผ่าตัดจะเสร็จสิ้นลงอย่างรวดเร็วโดยที่คุณแม่จะรู้สึกถึงแรงกดเพียงเล็ก น้อยเท่านั้น

ขั้นตอนที่เกิดขึ้นหลังจากลูกน้อยลืมตาดูโลก

แพทย์ จะนำทารกไปไว้ใน “ตู้อบ”  ซึ่งเป็นเตียงที่อบอุ่นขนาดเล็ก เพื่อให้กุมารแพทย์ทำการตรวจร่างกายลูก เมื่อกุมารแพทย์พบว่าลูกของคุณแม่มีสุขภาพแข็งแรง แพทย์จะห่อตัวลูกด้วยผ้าห่มและส่งให้คุณแม่หรือคุณพ่อชื่นชมแล้วนำไปดูแล ห้องเด็กอ่อน

เมื่อนำรกออกจากครรภ์จนหมดแล้ว แพทย์จะเย็บปิดมดลูกและหน้าท้องของคุณแม่ด้วยรอยเย็บที่ประณีต  ขั้นตอนทั้งหมดนี้ใช้เวลาประมาณ  30-45  นาที หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะพาคุณแม่กลับไปยังห้องพักผู้ป่วย  ซึ่งสูติแพทย์จะช่วยสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้แก่คุณ

การฟื้นตัวจากการผ่าตัดคลอด
โดย ส่วนใหญ่ คุณแม่จะฟื้นตัวได้ภายใน 24 ชั่วโมง และออกจากโรงพยาบาลได้ภายใน 3 วัน แต่ใช้เวลาประมาณ 6  สัปดาห์เพื่อให้รอยแผลจากการผ่าตัดคลอดหายดี ดังนั้น คุณแม่จะต้องได้รับความช่วยเหลือเป็นพิเศษเมื่อกลับไปพักฟื้นที่บ้านเพื่อ ที่จะได้พักผ่อนและใช้เวลาอยู่กับลูกน้อยได้อย่างเต็มที่

ความเสี่ยงและผลข้างเคียงของการตรวจรักษา
  •   เสียเลือดมากกว่าการคลอดทางช่องคลอดถึง 2 เท่า
  •   อาจเกิดภาวะติดเชื้อ
  •   อาจบาดเจ็บต่ออวัยวะข้างเคียง เช่น กระเพาะปัสสาวะ  หลอดไต หรือ ลำไส้
  •   ความเสี่ยงจากการให้ยาชาเข้าไขสันหลัง  หรือ ดมยาสลบ
  •   เจ็บแผลนานกว่าการคลอดแบบธรรมชาติ

ระยะเวลาที่แผลจะหาย

โดย ปกติแล้วจะใช้เวลาประมาณ  2 - 4  สัปดาห์ แผลที่เย็บไว้จึงจะสมานเข้าด้วยกัน แต่ก็อาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน อย่างไรก็ตาม แผลเย็บจะค่อยๆ สมานเข้าด้วยกันซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2 - 12 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับลักษณะของการเย็บ   สิ่งสำคัญคือขอให้คุณแม่ดูแลความสะอาดของแผลเป็นอย่างดี เพื่อให้กลไกของร่างกายสมานแผลเข้าด้วยกันโดยไม่มีปัญหา เช่น ไม่เกิดการติดเชื้อ

การปฏิบัติตัวก่อน และหลังการผ่าตัดคลอดบุตร
 •    กรณีไม่ฉุกเฉิน  งดอาหารก่อนการผ่าตัดอย่างน้อย 6-8  ช.ม.
 •    ตรวจครรภ์ และดูแลร่างกายช่วงก่อนคลอดให้ดี  ให้มีปัญหา หรือ โรคแทรกซ้อนน้อยที่สุด
 •    เปิดแผลผ่าตัด หรือ ถูกน้ำได้หลังผ่าตัดประมาณ  7  วัน
 •    พักผ่อน  1-2  สัปดาห์
 •    ออกกำลังกายปกติได้หลัง  6  สัปดาห์

คำแนะนำในการดูแลให้แผลสมานตัวเร็วขึ้นหลังคลอดลูก

 •    ควรผ่อนคลายและอย่าทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมากนัก

 •    รักษาความสะอาดและคอยดูแลให้แผลแห้ง วิธีการทำความสะอาดที่รวดเร็วก็คือ การฉีดละอองน้ำเพื่อล้างทำความสะอาด คุณควรทำความสะอาดวันละ 2-3  ครั้งและเช็ดให้แห้งอย่างเบามือ

  •    ต้องระวังอย่าให้ผ้าอนามัยไปขูดสีกับแผลที่เย็บไว้ และควรเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ

  •    คุณแม่อาจใช้ผ้าห่อน้ำแข็งประคบบริเวณแผลได้ แต่ต้องไม่เกินครั้งละ 2-3 นาที ทั้งนี้เพราะความเย็นจะช่วยลดอาการบวม แต่หากนานเกินไปก็จะทำให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณแผลน้อยลง

  •    คุณแม่ควร รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อย่างสม่ำเสมอ โดยเน้นที่อาหารที่มีกากใยสูงและดื่มน้ำมากๆ เพื่อไม่ให้ท้องผูก  นอกจากนี้การดื่มน้ำบ่อยๆ ยังช่วยให้คุณแม่ต้องไปห้องน้ำอย่างสม่ำเสมอ

หากคุณแม่รู้สึกเจ็บตึงบริเวณแผลมาก หรือสงสัยว่าอาจมีการอักเสบติดเชื้อ ควรรีบไปพบสูติแพทย์ทันที

ขอบคุณข้อมูลจาก
พล.ต.นพ.ธีรศักดิ์   ธำรงธีระกุล   และทีมแพทย์
ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก ผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช  โรงพยาบาลวิภาวดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น