จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554

โรคปวดหลังขณะตั้งครรภ์



อาการ ปวดหลังขณะตั้งครรภ์พบได้บ่อยมาก  จะเกิดตอนช่วงใดขณะตั้งครรภ์ก็ได้  สาเหตุของการปวดหลังมีหลายอย่าง  ข้อเขียนนี้จะแนะนำวิธีง่าย ๆ บางวิธีที่จะทำให้ผ่อนคลายได้

สาเหตุของอาการปวดหลัง
ว่ากันว่ามากกว่า 50% ของสตรีตั้งครรภ์มีอาการปวดหลัง  ตำแหน่งที่ปวด  มักจะเป็นบริเวณเอว, ก้นกบ, ขาหนีบและต้นขา  บริเวณหัวเหน่า และที่หลังส่วนบน  ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจาก

1. น้ำหนักที่มากขึ้น

2. จุดศูนย์ถ่วงของร่างกายเปลี่ยนไป  ทำให้คุณต้องปรับตัว  ปรับท่าทางโดยอัตโนมัติ  ซึ่งบางท่าทางอาจทำให้คุณปวดหลังได้

3. ผล จากฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์ชื่อ Relaxin ทำให้เส้นเอ็นของข้อต่อต่าง ๆ ยืดตัว  ทำให้ข้อหลวมโดยเฉพาะบริเวณข้อหลังส่วนล่างและข้อกระดูกเชิงกรานเพื่อเตรียม ความยืดหยุ่นขณะมีการคลอด 

การหย่อนหลวมดังกล่าวทำให้การเคลื่อนไหวร่างกายลำบากขึ้น  โดยเฉพาะตอนเดินลงบันไดจะเห็นได้ชัดเจน

อาการ ปวดหลังเกิดช่วงใดของการตั้งครรภ์ก็ได้แตกต่างกันเป็นคน ๆ ไป  บางครั้งทำให้การเดิน- การนอนมีความลำบากและมีปัญหา  พักผ่อนไม่เพียงพอ

การป้องกันแก้ไข

1. สนใจ เรื่องการวางท่าทาง (posture) ขณะนอน  นั่ง  ยืน  เดิน ให้ถูกสุขลักษณะตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์  และตั้งแต่เมื่อเริ่มตั้งครรภ์  พยายามอย่าให้หลังแอ่นเกินไป  ดึงตะโพกมาด้านหน้า และยืดไหลให้ตั้งตรงไว้เสมอ ๆ ในขณะนั่งและยืน  ยิ่งท้องแก่ ๆ น้ำหนักท้องจะดึงให้หลังแอ่นมากขึ้น 

ถ้าออกกำลังกายสม่ำเสมอทั้งก่อนและหลังตั้งครรภ์  จะช่วยให้มีกำลังกล้ามเนื้อสู้กับส่วนนี้ได้ดี

2. เวลา นั่งให้วางเท้า  โดยเข่าสูงกว่าตะโพกเล็กน้อย อย่านั่งไขว้ห้าง  หลังตรง  ก้นชิดพนักเก้าอี้ถ้าต้องการพิงพนัก ขยับเปลี่ยนท่าบ่อย ๆ อย่าอยู่ท่าเดียวนาน ๆ น้ำหนักตัวให้ลงที่ต้นขา 2 ข้าง  ไม่ใช่ทดไปที่กระดูกก้นกบ  เวลายืนอย่ายืนนิ่งนาน ๆ  เปลี่ยนท่าบ่อย ๆ   ถ้าต้องยืนนานให้เท้าข้างหนึ่งยืน  อีกข้างหนึ่งได้วางอยู่ที่ราวเท้าสูงขึ้นมา 10-15 ซ.ม. แล้วสลับไปมา

3. เวลา นอนหงาย  ให้หมอนหนุนใต้เข่าพอรู้สึกสบาย  ถ้านอนตะแคงให้งอเข่า 1-2 ข้าง  เข่าด้านบนหนุนด้วยหมอนนุ่ม ๆ หรือหมอนขั้นอยู่ระหว่างเข่า 2 ข้าง  และมีหมอนอีกใบหนุนท้องไว้

4. หลีกเลี่ยงการยกของหนักหรืออุ้ม  เวลายกของอย่างยืนก้มหลังลงไปยกของ  ให้ย่อเข่า  หลังตรง  ยกของแล้วลุกขึ้นแทน  พยายามอย่ายืดแขนหยิบของในที่สูงเร็ว ๆ ให้ทำช้า ๆ

5. ใส่รองเท้าส้นเตี้ย  การใส่ชุดพยุงบริเวณหลังส่วนล่างจะช่วยให้สบายขึ้น

6. ถ้ามีอาการปวด  ให้ใช้วิธีประคบร้อนหรือประคบเย็น  ก็จะช่วยได้

7. ให้ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะช่วยให้หน้าท้องและหลังแข็งแรง  การว่ายน้ำ หรือการออกกำลังในน้ำเป็นวิธีที่น่าเลือกทำขณะตั้งครรภ์  การฝึกโยคะ  ฝึกท่าบริหารที่แนะนำสำหรับหลังและสะโพกคือ ท่าแมวโก่งตัว  คือ คุดเข่า 2 ข้าง  มือ 2 ข้างยันพื้น  ศีรษะและหลังตรงแนวขนานกับพื้น  แล้วโก่งหลังขึ้นค้างไว้ 5 วินาทีแล้วผ่อนลงช้า ๆ  ทำซ้ำคราวแรก ๆ เริ่มที่ 5 ครั้งต่อไป  เพิ่มเป็นวันละ 10 ครั้ง และโก่งหลังให้นานขึ้น

ถ้า ลองทำที่ว่านี้แล้วไม่ดีขึ้น  หรือมีอาการมากก็ลองปรึกษากับแพทย์ที่ดูแลใหม่  และถ้าอาการมาก ๆ อาจมีโรคอื่นแทรกอยู่หรืออาจเป็นการเริ่มจะมีการคลอดก็ได้
ขอบคุณข้อมูลจาก
 นพ.ธีรศักดิ์  ธำรงธีระกุลและทีมแพทย์ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากและผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น