จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ลิ้นติด (Ankyloglossia หรือ Tongue-tie)



ลิ้นติด (Ankyloglossia หรือ Tongue-tie)
                                                                 
ลิ้นติด เป็นภาวะที่การเคลื่อนไหวอย่างปกติของลิ้นที่เคยเคลื่อนโดยอิสระ ถูกจำกัดจากการที่ lingual frenulum ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่ยึดเกาะระหว่างใต้ลิ้นกับพื้นล่างของช่องปากเกิดความผิดปกติ ซึ่ง frenulum อาจสั้นไปและยึดติดกับลิ้นแน่นไป หรืออาจเกาะออกไปตามพื้นล่างของลิ้นยาวเกินไป หากยื่นไปถึงปลายลิ้น อาจทำให้เห็นปลายลิ้นเป็นรูปตัว V หรือเป็นรูปหัวใจ ภาวะนี้มักเป็นกรรมพันธุ์และไม่สามารถป้องกันได้

                ภาวะ ลิ้นติดมาก ๆ อาจทำให้แลบลิ้นยื่นออกมาและกระดกลิ้นไม่ได้ ทำให้เชื่อว่าอาจไปขัดขวางการเคลื่อนไหวตามปกติของลิ้นที่เป็นลูกคลื่นเวลา ที่ลูกดูดนมแม่ (peristalsis) ส่งผลให้หัวนมแม่มีการชอกช้ำ และเกิดปัญหาการได้น้ำนมแม่อย่างพอเพียง และการเพิ่มน้ำหนักตัวของลูก

                พบประมาณ 3.2-4.8 % ของเด็กคลอดครบกำหนด และพบประมาณ 12.8 % ของเด็กที่มีปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มอุบัติการณ์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่มีปัญหาคือ ประมาณ 25 % ของเด็กที่มีภาวะนี้ : 3 % ของเด็กที่ไม่มีภาวะนี้
   ผลของลิ้นติดต่อทารก ปกติภาวะลิ้นติดจะค่อย ๆ หายไปเมื่อเด็กอายุ 2-3 ปี แต่ในเด็กเล็กอาจเกิดปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เช่น ดูดนมไม่ได้ดี อมหัวนมแล้วมักหลุด น้ำหนักตัวไม่ค่อยขึ้นจากการได้น้ำนมไม่พอ แม่เจ็บหัวนมหรือหัวนมเป็นแผล แม่สร้างน้ำนมน้อยลง ๆ    ซึ่งเด็กกลุ่มนี้อาจจะต้องได้รับการแก้ไขโดยการผ่าตัดที่เรียกได้หลายอย่างเช่น frenulectomy, frenulotomy, frenectomy, หรือ frenotomy
ข้อบ่งชี้ว่าเด็กมีลิ้นติดที่ควรได้รับการแก้ไข:-

           เจ็บหัวนมหรือมีร่องรอยฟกช้ำหรือเป็นแผล

           หัวนมผิดรูปไปหลังจากให้นมลูกแล้ว

           มีรอยกดหรือรอยเป็นริ้ว ๆ บนหัวนมหลังลูกดูดนมแล้ว

           ลูกมักดูดไม่ได้ หรือดูดแล้วหลุด เลยทำให้ดูดได้แต่ลม

           ได้ยินเสียงคล้ายกระเดาะลิ้นจากปากลูกขณะดูดนมแม่

           น้ำหนักตัวลูกไม่ขึ้นหรือขึ้นช้า
อาการแสดง   

           ลูกแลบลิ้นได้ไม่พ้นริมฝีปากหรือเหงือกบน

           ไม่สามารถกระดกปลายลิ้นขึ้นไปสัมผัสเพดานปากได้

           ไม่สามารถเคลื่อนไหวลิ้นไปด้านข้างได้

           เมื่อแลบลิ้น ปลายลิ้นจะแบนไม่มน หรือเป็นเหลี่ยม ไม่แหลมมนอย่างทั่ว ๆ ไป

           ปลายลิ้นอาจเป็นร่องหยักเข้ามา หรือเป็นรูปหัวใจ

การประเมิน  ควร ตรวจภายในช่องปากอย่างถี่ถ้วน ประเมินทั้งหน้าที่และกายวิภาค การตรวจควรครอบคลุมการคลำเพดานอ่อนและเพดานแข็ง เหงือก และบริเวณใต้ลิ้น รวมทั้งตรวจการเคลื่อนไหวของลิ้น ความยาว ความยืดหยุ่น และจุดใต้ลิ้นที่ sublingual frenulum ไปเกาะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น